ติดต่อเรา 055-416601 ต่อ 1328 E-mail : coop-center@uru.ac.th

บทบาทของสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา

1. บทบาทของสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา

      สถานประกอบการเป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่จะพัฒนานักศึกษาโดยวิธีการของสหกิจศึกษาให้เกิดผลทางรูปธรรม ในทางปฏิบัติสหกิจศึกษามีรูปแบบและขั้นตอนที่จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสถานประกอบการ โดยเฉพาะพนักงานฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์และพนักงานที่ปรึกษา (Job Supervisor) ซึ่งจะเป็นผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้สนับสนุนและส่งเสริมให้การปฏิบัติงานของนักศึกษาประสบความสำเร็จสูงสุดในระหว่างการปฏิบัติงาน โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้

1. ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ให้รายละเอียดลักษณะงานที่ต้องการให้นักศึกษาปฏิบัติด้านระเบียบวินัยของสถานประกอบการนั้น ๆ กับศูนย์สหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา ก่อนนักศึกษาออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

2. ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ดำเนินการปฐมนิเทศ อบรม เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงระเบียบวินัย วัฒนธรรมการรักษาความปลอดภัยในการทำงานตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับสถานประกอบการ โครงสร้างการบริหารงานและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของสถานประกอบการที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ

3. แต่งตั้งพนักงานที่ปรึกษา (Job Supervisor)


2. หน้าที่ของพนักงานที่ปรึกษา

      พนักงานที่ปรึกษา หมายถึง บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา อาจจะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน ในกรปฏิบัติงาน ตลอดระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา จึงเปรียบเสมือนอาจารย์ของนักศึกษา ณ สถานประกอบการเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษาทั้งทางด้านปฏิบัติงานและการปรับตัวเข้ากับการปฏิบัติงานของนักศึกษาดังนั้นพนักงานที่ปรึกษาจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดที่จะทะให้การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสำเร็จไปด้วยดี โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้

      2.1 กำหนดลักษณะงาน (Job Description) และแผนการปฏิบัติงาน (Co-op Work Plan) กำหนดตำแหน่งงานขอบข่ายหน้าที่งานของนักศึกษาที่จะต้องปฏิบัติงาน และแจ้งให้นักศึกษา รับทราบถึงงานที่ได้รับมอบหมายโดยจะมีลักษณะงานตรงตามสาขาวิชานักศึกษา ซึ่งได้มีการกำหนดแผนงาน การปฏิบัติรายสัปดาห์ให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษา
      2.2 การให้คำปรึกษา ให้คำปรึกษาชีแนะแนวทางการทำงานและการแก้ปัญหาจากประสบการณ์ที่มีให้กับนักศึกษาสหกิจศึกษารวมทั้งในความร่วมมือด้านประสารงานกับอาจารย์นิเทศ และนักศึกษาสหกิจศึกษา
      2.3 แนะนำการจัดทำรายงานสหกิจศึกษา
นักศึกษาต้องจัดทำรายงาน 1 ฉบับ เสนอต่อ สถานประกอบการ และอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา โดยรายงานอาจประกอบด้วยเนื้อหาที่สถานประกอบการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป หรืออาจมีลักษณะดังนี้
     1. โครงงานหรืองานวิจัย หากงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายเป็นโครงงาน(Project)หรืองานวิจัยนักศึกษาจะต้องทำรายงานในหัวข้อของโครงงานและงานวิจัย ดังกล่าว
     2. ในกรณีที่งานได้รับมอบหมายเป็นงานประจำ (Routine)เช่น งานในสายการผลิตงานระบบคุณภาพงานบำรุงรักษา งานตรวจสอบคุณภาพ รายงานของนักศึกษาอาจจะเป็นดังนี้
          - รายงานและขั้นตอนการนปฏิบัติงานประจำที่ได้รับมอบหมายทั้งหมดหรือบางส่วน
          - รายงานหัวข้อพิเศษ (Special Assignment หรือ Project)เป็นหัวข้อที่สถานประกอบการสนใจในลักษณะโครงงานหรือปัญหาพิเศษให้นักศึกษาค้นคว้าสรุปและวิจารณ์ รวบรวมไว้เป็นเล่มเพื่อใช้ประโยชน์ซึ่งหัวข้อของรายงานอาจจะไม่สัมพันธ์กันกับประจำของนักศึกษาก็ได้ เมื่อพนักงานที่ปรึกษากำหนดหัวข้อรายงานแล้ว นักศึกษาติองจัดทำ Report Outline (ตามแบบที่กำหนด)โดยหารือหรือกับพนักงานที่ปรึกษา แล้วจัดส่งให้ฝ่ายสหกิจศึกษาคณะ/มหาวิทยาลัย เพื่อส่งมอบให้อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประจำหลักสูตร/สาขาวิชา ให้ความคิดเห็นชอบจึงจะจัดส่งคืน ให้แก่นักศึกษาต่อไป ลักษณะรายงานจะมีรูปแบบรายงานตามรายงานวิชาการ นักศึกษาจะต้องจัดพิมพ์รายงานให้เรียบร้อย และส่งให้พนักงานที่ปรึกษา หรือผู้นิเทศ (พี่เลี้ยง) ตรวจสอบประเมินผลอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนสิ้นสุดการปฏิบัติงาน


3. การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการนิเทศนักศึกษา

      ระหว่าการปฏิบัติงานของนักศึกษา เจ้าหน้าที่สหกิจศึกษาคณะ/วิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ศูนย์สหกิจศึกษา จะประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา เพื่อขอนัดหมายเข้านิเทศนักศึกษา สหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ โดยจะมีหัวข้อการหารือกับผู้บริหารสถานประกอบการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล/พนักงานที่ปรึกษา ดังนี้

      1. ข้อมูลเพิ่มเติมจากการดำเนินการโครงการน เพื่อพัฒนาหลักสูตร
      2. ลักษณะงานที่มอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติ
      3. แผนการปฏิบัติตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
      4. หัวข้อรายงานสหกิจศึกษาและความก้าวหน้า
      5. การพัฒนาตนของนักศึกษา
      6. ผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและความประพฤติ
      7. ปัญหาต่างๆ ทีสถานประกอบการพบเกี่ยวกับการมาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา


4. การประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษา มีกระบวนการดังนี้

      1. พนักงานที่ปรึกษา หรือผู้นิเทศงาน (พี่เลี้ยง) จะต้องตรวจแก้ไขรายงานให้นักศึกษาและประเมินผลเนื้อหา และการเขียนรายงานภายในสัปดาห์สุดท้ายของการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยแก้ไขรายงานให้สมบูรณ์ก่อนกลับมหาลัย
      2. แจ้งการประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยอาจจะแจ้งนักศึกษาทราบ จากนั้นมอบผลการประเมินให้นักศึกษานำส่ง หรือจัดส่งให้กับ อาจารย์นิเทศ ทราบโดยตรง ต่อไป


5. การเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการประกอบด้วย

      1. กำหรดรอบงาน ละจัดโปรแกรมการทำงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา
      2. กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบและพนักงานที่ปรึกษา
      3. กำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาที่ต้องการรับเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
      4. แนะนำหรือจัดที่พักให้กับนักศึกษา ในกรณีที่บ้านพักอาศัยของนักศึกษาอยู่ไกลจากสถานประกอบการ
      5. พร้อมที่จะได้ความอนุเคราะห์ค่าตอบแทนมนอัตราที่สมควร และเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ (อาจมีหรือไม่ก็ได้)
      6. พร้อมที่จะดูแลนักศึกษา ให้คำแนะนำ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้งานให้เต็มศักยภาพที่สถานประกอบการจะพึงให้ได้


6. ประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับ มีดังนี้

      1.เกิดความร่วมมือทางวิชาการและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานศึกษา
      2.เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรในด้านการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาละช่วยพัฒนาบัณฑิต
      3.ได้นักศึกษาที่มีความกระตือรือร้น มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
      4. เป็นวิธีการช่วยคัดเลือกบัณฑิตเข้าเป็นพนักงานประจำในอนาคตต่อไป
      5. พนักงานประจำมีเวลามากขึ้นที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ซึ่งมีความสำคัญมากกว่า